ภัยจากสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลกระทบต่อภาคการท่องเที่ยว

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยว เนื่องจากสภาพอากาศที่เหมาะสมมีส่วนในการสนับสนุนและการตัดสินใจต่อกิจกรรมการท่องเที่ยว อีกทั้งแหล่งท่องเที่ยวที่มีระบบนิเวศและวัฒนธรรมที่เปราะบาง ทำให้การท่องเที่ยวอยู่ภายใต้ภาวะเสี่ยงจากสภาพภูมิอากาศที่แปรปรวนทั้งในปัจจุบันและอนาคต

ภัยอันตรายจากภูมิอากาศในการท่องเที่ยว จำแนกออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

  1. ภัยประเภทบรรยากาศ (Atmospheric) เช่น พายุไซโคลน พายุทอร์นาโด พายุ น้ำท่วม น้ำค้างแข็ง
  2. ภัยประเภทธรณีวิทยา (Geological) เช่น ดินโคลนถล่ม การกัดเซาะชายฝั่ง แผ่นดินไหว

ในบริบทของประเทศไทย พบว่า ภัยอันตรายจากภูมิอากาศที่สำคัญ ประกอบด้วย ความร้อน อุณหภูมิสูง น้ำท่วม และน้ำแล้ง โดยแหล่งท่องเที่ยวแต่ละประเภทจะได้รับผลกระทบจากภัยภูมิอากาศที่แตกต่างกัน

ตัวอย่างของแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบ ดังนี้

  1. แหล่งท่องเที่ยวประเภทภูเขาได้รับผลกระทบจากอุณหภูมิสูงและน้ำท่วมฉับพลัน 
  2. แหล่งท่องเที่ยวประเภทน้ำตก ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมและภัยแล้ง
  3. สภาพอากาศที่ไม่เหมาะสม มีผลทำให้ต้นทุนในการดำเนินการของผู้ประกอบการท่องเที่ยวสูงขึ้น 

ผลกระทบของภัยอันตรายจากภูมิอากาศในสาขาการท่องเที่ยว

  1. ผลกระทบทางตรง ได้แก่ การเพิ่มขึ้นของสภาวะอากาศสุดขั้ว (Extreme events) น้ำท่วม ลมพายุรุนแรง ฤดูร้อนอากาศที่ร้อนขึ้น ฤดูหนาวที่อุ่นขึ้น การเปลี่ยนแปลงปริมาณน้ำฝน 
  2. ผลกระทบทางอ้อม ได้แก่ การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล รวมถึงการระบาดของโรค 

หากพิจารณาแผนที่ความเสี่ยงต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในสาขาท่องเที่ยวที่จัดทำขึ้น ภายใต้โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการขับเคลื่อนนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศ : การพัฒนาระบบฐานข้อมูลความเสี่ยงเชิงพื้นที่จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (ONEP และ RU-CORE, 2021) มีการ พบว่า ความเสี่ยงต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศรวมในสาขาท่องเที่ยวมีความแตกต่างในเชิงพื้นที่ โดยหลายจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้ ภาคตะวันออก และภาคเหนือ มีความเสี่ยงสูงต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทั้งในช่วงอนาคตระยะใกล้ (2016–2035) อนาคตระยะกลาง (2046–2065) และอนาคตระยะไกล (2081–2099)

ตัวอย่างผลกระทบทางอ้อมต่อการท่องเที่ยว เช่น การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ สุนทรียภาพบริเวณแหล่งท่องเที่ยว ผลผลิตทางการเกษตรและอาหารที่ไว้บริการนักท่องเที่ยว รวมถึงสร้างความเสียหายต่อโครงสร้างพื้นฐานบริเวณแหล่งท่องเที่ยว ระบบสาธารณูปโภค และการเดินทางของนักท่องเที่ยวไปยังแหล่งท่องเที่ยว ลกระทบต่อสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับนักท่องเที่ยว รวมถึงผลกระทบต่อระบบสาธารณูปโภค ทั้งการใช้พลังงานและน้ำ

ที่มา:

การศึกษาของโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Environment Programme: UNEP) “Tourism and Risk Management”) 

(World Tourism Organization (2003), Grimm et al. (2018), Stern (2006), IPCC (2013), UNWTO (2007))

Risk Nap Result – Thai-German Cooperation

https://www.pier.or.th/abridged/2023/24/

https://www.facebook.com/dcceth

Image by rawpixel.com on Freepik Image by freepik