สัตว์เลี้ยงช่วยบำบัดโรคได้อย่างไร

“เจ้าสี่ขาขนปุย” คนรักสัตว์เลี้ยงหลายคนจะนึกถึงสุนัขมาเป็นอันดับแรก เพราะแค่ได้อยู่ใกล้บางคนก็มีความสุขแล้ว ฉะนั้นจึงไม่น่าแปลกใจที่มีบริการสัตว์เลี้ยงบำบัด ให้กับบรรดาผู้สูงอายุที่ต้องเผชิญกับภาวะโดดเดี่ยวและเป็นโรคซึมเศร้า ผู้ป่วยมะเร็ง, สมองเสื่อม ผู้ที่มีความเครียดหลังเผชิญกับเหตุการณ์สะเทือนใจ หรือผู้ที่มีภาวะเครียด วิตกกังวล ฯลฯ และได้รับการตอบรับที่ดี

หลายครั้งแค่ได้นั่งข้างๆกับเพื่อนสัตว์เลี้ยงขนปุยและการได้ลูบไล้ขนของพวกมัน ก็ทำให้เรามีความสุขแล้ว จากผลการศึกษาใหม่ที่ตีพิมพ์ในวารสาร PLOS ONE เมื่อไม่นานมานี้ ได้พบว่าการเลี้ยงสัตว์ที่มีขนปุกปุยมีผลต่อสมองส่วนหน้าของเรา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสมองที่มีความเกี่ยวข้องว่าเราคิดและรู้สึกอย่างไร

“เราเลือกที่จะตรวจสอบเยื่อหุ้มสมองส่วนหน้าเพราะพื้นที่สมองส่วนนี้มีความเกี่ยวข้องกับหน้าที่ของการบริหารหลายอย่าง เช่น การเอาใจใส่ ความจำในการทำงาน และการแก้ปัญหา และยังเกี่ยวข้องกับกระบวนการทางสังคมและอารมณ์ด้วย”
Rahel Marti นักศึกษาปริญญาเอกสาขาจิตวิทยาคลินิกและการช่วยเหลือสัตว์ที่มหาวิทยาลัย Basel ในสวิตเซอร์แลนด์กล่าว

เพราะเหตุใดการค้นพบนี้จึงมีความสำคัญ
“เพราะเรามีหลักฐานเพิ่มเติมว่าการปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับการบำบัดด้วยสัตว์เลี้ยง มีส่วนช่วยเพิ่มกิจกรรมทางปัญญาและอารมณ์ในสมอง” Marti กล่าว

“หากผู้ป่วยที่มีอาการการขาดแรงจูงใจ ความสนใจ การมีส่วนร่วมทางสังคมและการแสดงอารมณ์ รวมทั้งภาวะโดดเดี่ยวและเป็นโรคซึมเศร้า ถ้าได้รับการบำบัดและมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับสุนัข กิจกรรมดังกล่าวจะเพิ่มโอกาสในการเรียนรู้และสามารถบรรลุเป้าหมายในการรักษาอาการดังกล่าว” เธอกล่าว

การศึกษาล่าสุดนี้เกี่ยวข้องกับงานวิจัยที่มีอยู่แล้วในเรื่องประโยชน์ของการบำบัดด้วยสัตว์เลี้ยง ซึ่งมีส่วนช่วยในการฟื้นฟูระบบประสาท ภายใต้การดูแลของแพทย์ที่เกี่ยวกเบสภาวะของระบบประสาท เช่น โรคหลอดเลือดสมอง โรคลมชัก การบาดเจ็บที่สมอง และโรคเรื้อรังต่างๆ

Dr. Tiffany Braley รองศาสตราจารย์ด้านประสาทวิทยา จากมหาวิทยาลัยมิชิแกนใน Ann Arbor กล่าวว่า
“นี่เป็นการศึกษาที่น่าสนใจและเราควรดำเนินการอย่างจริงจัง เราได้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสัตว์ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับการทำงานของสมองส่วนหน้าในผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดี” และได้รับการตีพิมพ์ในงานวิจัยเกี่ยวกับความเชื่อมโยงระหว่างการเป็นเจ้าของสัตว์เลี้ยงและสุขภาพทางปัญญา

นักวิจัยได้ใช้เครื่องมือ สเปกโทรสโกปีใกล้อินฟราเรดเชิงฟังก์ชัน (fNIRS) ซึ่งเป็นเทคนิคการตรวจสอบสมองด้วยแสง เพื่อวัตถุประสงค์ในการสร้างภาพประสาท การใช้ fNIRS จะวัดการทำงานของสมองโดยใช้แสงอินฟราเรดใกล้เพื่อประเมินกิจกรรมการไหลเวียนโลหิตของเยื่อหุ้มสมอง ซึ่งเกิดขึ้นเพื่อตอบสนองต่อกิจกรรมของระบบประสาท ซึ่งเป็นเครื่องสแกนสมองแบบพกพาที่ให้ความยืดหยุ่น เนื่องจากสามารถทำงานในสภาพแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติ ไม่จำกัดเฉพาะในห้องปิดเชิงปฏิบัติการ เทคนิคนี้วัดการทำงานของสมองผ่านความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดในสมอง

ยิ่งใกล้ชิดกันยิ่งส่งผลดี
ทีมวิจัยได้ติดตั้งเครื่องสแกนให้กับผู้เข้าร่วมวิจัย 19 คน และขอให้พวกเขาสังเกตและโต้ตอบกับหนึ่งในสามสุนัขที่มีได้เข้าร่วมวิจัย ได้แก่ แจ็ค รัสเซลล์ เทอร์เรียร์ โกลเด้นดูเดิล และโกลเด้นรีทรีฟเวอร์ ขั้นแรก ผู้เข้าร่วมวิจัยดูสุนัขจากอีกฟากหนึ่งของห้อง จากนั้นก็ให้สุนัขนั่งใกล้พวกเขา แล้วต่ละคนก็ได้รับอนุญาตให้เลี้ยงสุนัข กระบวนการนี้ทดลองอีกสองครั้งในเวลาต่อมา

และในเวลาต่อมา ก็ให้เแต่ละคนทำซ้ำแบบเดียวกัน แต่เปลี่ยนเป็นตุ๊กตาสิงโตจำลองที่มีอุณหภูมิอุณหภูมิร่างกายเหมือนกับสุนัขที่มีชีวิต ในแต่ละครั้งเราพบว่าสมองได้รับการกระตุ้นเพิ่มขึ้นเมื่อสุนัขหรือตุ๊กตาสัตว์ได้มีการใกล้ชิดกับผู้ร่วมวิจัย

“เราพบว่ามีการทำงานของสมองเพิ่มขึ้นเมื่อผู้ร่วมวิจัยได้สัมผัสใกล้ชิดกับสุนัขหรือตุ๊กตาสัตว์ เป็นการยืนยันกับการศึกษาก่อนหน้านี้ที่เชื่อมโยงว่าการสัมผัสใกล้ชิดกับสัตว์เลี้ยงหรือสิ่งเร้า มีส่วนช่วยควบคุมการกระตุ้นสมองได้มากขึ้น” Marti กล่าว

อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษาพบว่าการทำงานของสมองนั้นจะมีประสิทธิภาพมากขึ้นขึ้นไปอีก เมื่อคนๆ นั้นได้สัมผัสหรือลูบขนของสุนัขจริงๆ หรือกับตุ๊กตาจำลอง

“เราคิดว่าการใกล้ชิดกันระหว่างมนุษย์และสัตว์เลี้ยง จะเป็นกลไกสำคัญในการกระตุ้นสมอง” Marti กล่าว และเสริมว่าตุ๊กตาจำลองให้ผลการกระตุ้นความรักน้อยลง

อย่างไรก็ตามผลลัพธ์นี้ได้สะท้อนการค้นพบจากนักวิจัยคนอื่นๆ ว่ามีการทำงานของสมองมากขึ้นเมื่อผู้เข้าร่วมมีปฏิสัมพันธ์กับสัตว์เลี้ยงอื่นๆ เช่น กระต่าย หนูตะเภา แมว สุนัข และม้า

อ้างอิง
https://dmh.go.th/news/view.asp?id=2259
https://www.cnn.com/2022/10/06/health/petting-dogs-brain-study-wellness-scn/index.html

ภาพประกอบ
Designed by Freepik