เลือกอาหารอย่างไรเพื่อลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์

ทุกวันนี้เรียกได้ว่าทุกๆกิจกรรมของมนุษย์และสัตว์ที่เกิดขึ้นบนโลกนี้ล้วนก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจก สาเหตุของโลกร้อน รวมทั้งผลิตภัณฑ์อาหารที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปริมาณที่แตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับวัตถุดิบ การขนส่ง กระบวนการผลิต การใช้งาน ตลอดจนการทิ้งและจัดการขยะอาหาร ซึ่งเป็นการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ตลอดวัฎจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ หรือเรียกว่า คาร์บอนฟุตพริ้นท์ (Carbon Footprint)

เรามาดูวัตถุดิบที่ปล่อยปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์มากที่สุด 10 อันดับแรกของโลกมีอะไรบ้าง

1 เนื้อวัว (ฟาร์มโคเนื้อ) 

99.48 kgCO₂eq

2 ดาร์กช็อกโกแลต  46.65 kgCO₂eq
3 เนื้อแกะ  39.72 kgCO₂eq
4 เนื้อวัว (ฟาร์มโคนม)  33.30 kgCO₂eq
5 กาแฟ  28.53 kgCO₂eq
6 กุ้งจากฟาร์มเพาะเลี้ยง  26.87 kgCO₂eq
7 ชีส  23.88 kgCO₂eq
8 ปลาจากฟาร์มเพาะเลี้ยง  13.63 kgCO₂eq
9 เนื้อหมู 12.31 kgCO₂eq
10 เนื้อไก่  9.87 kgCO₂eq

 จะเห็นได้ว่า “การผลิตเนื้อ” เป็นกิจกรรมที่สร้างคาร์บอนฟุตพริ้นท์ในปริมาณมาก โดยเฉพาะเนื้อวัวที่สร้างคาร์บอนฟุตพริ้นท์ในปริมาณสูงกว่าวัตถุดิบอื่นหลายเท่าตัว ในขณะที่เนื้อที่เป็นมิตรกับโลกที่สุดก็คือ เนื้อไก่

*คิดจากปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ที่ถูกปล่อยเข้าชั้นบรรยากาศต่อการผลิตวัตถุดิบ 1 กิโลกรัม *kgCO₂eq = กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

เราสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ได้โดย

  1. กินให้หมดลดเศษอาหาร: อาหารที่ถูกทิ้งจะย่อยสลายและเกิดเป็นก๊าซมีเทน
  2. ลดการกินอาหารแปรรูป: กระบวนการผลิตที่มีหลายขั้นตอน จะยิ่งปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากขึ้นตามไปด้วย
  3. ลดปริมาณการบริโภคเนื้อสัตว์: 70% ของคาร์บอนฟุตพริ้นท์มาจากผลิตภัณฑ์จากสัตว์
  4. ซื้อผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่น: เพื่อลดพลังงานในการขนส่ง การเก็บรักษา รวมถึงสนับสนุนสินค้าปลอดสารเคมี
  5. เลือกอาหารจากพืช: เช่น ผลไม้ ธัญพืช หรือพืชจำพวกถั่วต่างๆ เพราะการผลิตจะใช้พลังงาน น้ำ และทรัพยากรน้อยกว่าอาหารจากสัตว์

ส่งเสริมการมีส่วนร่วมด้านสิ่งแวดล้อม พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ที่มา : www.deqp.go.th กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม

คาร์บอนฟุตพริ้นท์ หมายถึง ปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยอาจคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ บริการ หรือหน่วยงาน

ฟุตพริ้นท์ จะทำให้ผู้บริโภคทราบถึงปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมประจำวัน และกระตุ้นให้เกิดความตระหนักในการเลือกซื้อสินค้าและเปลี่ยนแปลงวิธีการบริโภค เพื่อช่วยลดปัญหาโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ปัจจุบันมีแอพพลิเคชั่นนี้ใช้สำหรับคำนวณ ข้อมูลคาร์บอน โดย องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ในเว็บไซต์ ของ TGO ตามลิงค์ด้านล่าง

http://www.tgo.or.th/2020/index.php/th/post/thai-carbon-footprint-calculator-627