สับปะรด เป็นผลไม้ทางเศรษฐกิจของหลายประเทศ และเป็นผลไม้ทีมีรสชาติเปรี้ยวอมหวานฉ่ำมากน้อยขึ้นกับสายพันธุ์ มีสรรพคุณและคุณค่าทางอาหารหลายอย่าง นอกจากนี้ยังมีสรรพคุณทางยาอีกด้วย นอกจากจะทานแบบสดๆ ได้แล้ว ยังสามารถนำมาปรุงอาหารและแปรรูปได้อีกหลากหลายเมนู
ที่มาและถิ่นกำเนิดของสับปะรด
มีถิ่นกำเนิดอยู่ในตอนกลางของทวีปอเมริกาใต้, ตอนใต้ของบราซิล, ตอนเหนือของปารากวัยและอาร์เจนตินา มักจะปลูกโดยชาวพื้นเมืองเป็นหลัก มักจะปลูกตามบริเวณชายฝั่งตะวันออกและทางตอนเหนือของทวีป ริมฝั่งของมหาสมุทรแอตแลนติกและแปซิฟิกของทวีปอเมริกากลาง และตามหมู่เกาะต่างๆ หมู่เกาะเวสต์อินดีส (West Indies)
ชาวยุโรปที่เป็นนักเดินเรือและพบสับปะรดครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1943 คือ คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส เป็นชาวสเปน และได้เผยแพร่พันธุ์สับปะรดไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลก
ประเทศไทยพบบันทึกว่ามีสับปะรด ในสมัยสมเด็จพระนารยณ์มหาราช สันนิษฐานว่าถูกนำเข้ามาโดยชาวโปรตุเกศ ส่วนสายพันธูนั้นน่าจะเป็นพันธุ์อินทรชิต หรือกลุ่มสแปนนิช
สำหรับในประเทศไทย ปัจจุบันเป็นผลไม้ที่สามารถปลูกได้ทุกภาคของประเทศไทย ปลูกได้ในสภาพดินร่วน หรือร่วนปนทราย ไม่มีน้าท่วมขัง และต้องเป็นพื้นที่ที่มีแสงแดดจัด
สารอาหารและประโยชน์ของสับปะรด
สับปะรดให้พลังงาน แร่ธาตุ และวิตะมินที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
ลูกสับปะรด 100 ก. จะให้พลังงานประมาณ 50 กิโลแคลลอรี สารสำคัญที่พบในสับปะรดคือสารในกลุ่ม phytoestrogens, isoflavones, lignans, phenolics, กรดซิตริก, กรดมาลิก, วิตามินต่างๆ รวมทั้งเอนไซม์บรอมมีเลน สับปะรดมีสารต้านอนุมูลอิสระในร่างกายที่เกิดจากปัจจัยแวดล้อมต่างๆ เช่น มลภาวะ ความเครียด การรับประทานอาหารที่มีโทษต่อร่างกาย นอกจากนี้ยังมีเอนไซม์ ที่ช่วยในระบบการย่อยอาหาร สับปะรดช่วยต้านการอักเสบ มีงานวิจัยบอกว่าน้ำสับปะรดช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันแข็งแรงขึ้น และเพิ่มประสิทธิภาพของยาปฏิชีวนะด้วย แต่ก็ยังต้องมีการทดลองเพิ่มเติมต่อไป
ในเนื้อสับปะรดมี เอนไซม์บรอมมีเลน โดยช่วยในการย่อยอาหาร ช่วยป้องกันแบคทีเรียที่เป็นอันตราย ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคท้องร่วง ช่วยลดการอักเสบในผู้ที่มีความผิดปกติของลำไส้ อันเป็นสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็ง
ในน้ำสับปะรด 1 แก้ว(250กรัม) ประกอบด้วยสารอาหารที่มีคุณค่าดังนี้
- พลังงาน : 132 กิโลแคลลอรี
- โปรตีน : น้อยกว่า 1 กรัม
- ไขมัน : น้อยกว่า 1 กรัม
- คาร์โบไฮเดรต : 33 กรัม
- น้ำตาล : 25 กรัม
- ไฟเบอร์ : น้อยกว่า 1 กรัม
- แมงกานีส : 55% of the Daily Value (DV)
- ทองแดง : 19% of the DV
- วิตามิน B6: 15% of the DV
- วิตามิน C: 100% of the DV
- ไทอามีน : 12% of the DV
- โฟลเลท: 11% of the DV
- โพแทสเซียม : 7% of the DV
- แมกนีเซียม : 7% of the DV
คุณประโยชน์8ข้อ ของน้ำสับปะรด
-
สับปะรดมีสารต้านอนุมูลอิสระในร่างกายที่เกิดจากปัจจัยแวดล้อมต่างๆ เช่น มลภาวะ ความเครียด การรับประทานอาหารที่มีโทษต่อร่างกาย
-
มีเอนไซม์ ที่ช่วยในระบบการย่อยอาหาร
-
สับปะรดช่วยต้านการอักเสบ มีงานวิจัยบอกว่าน้ำสับปะรดช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันแข็งแรงขึ้น
-
สับปะรดมีฤทธิ์เพิ่มประสิทธิภาพของยาปฏิชีวนะด้วย แต่ก็ยังต้องมีการทดลองเพิ่มเติมต่อไป
-
ในเนื้อสับปะรดมี เอนไซม์บรอมมีเลน โดยช่วยในการย่อยอาหาร ช่วยป้องกันแบคทีเรียที่เป็นอันตราย ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคท้องร่วง
-
ช่วยบำรุงหัวใจ จากสารโบรมีเลนที่พบในน้ำสับปะรด (โบรมีเลนอาจช่วยลดความดันโลหิตสูง ป้องกันการก่อตัวของลิ่มเลือด และลดความรุนแรงของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ)
-
ช่วยลดการอักเสบในผู้ที่มีความผิดปกติของลำไส้ เป็นสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็ง
-
อาจลดอาการหอบหืดน้ำสับปะรดอาจมีประสิทธิภาพในการบรรเทาอาการที่เกี่ยวข้องกับโรคหอบหืด ในการศึกษาในสัตว์ทดลอง นักวิจัยพบว่าฤทธิ์ต้านการอักเสบของโบรมีเลนอาจเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยโรคหอบหืด นอกจากนี้ สับปะรดและผลในสับปะรดยังมีวิตามินซี ซึ่งช่วยลดการหดตัวของหลอดลม ซึ่งเป็นอาการของโรคหอบหืดจากภูมิแพ้
วิธีเลือกซื้อสับปะรด
ดมกลิ่นถ้ามีกลิ่นหอมสับปะรดออกมา ถือว่าสุกแล้ว และถ้าลองเอานิ้วดีดจะพบว่ามีเสียงแปะๆ รู้สึกว่าเนื้อไม่แข็งแปลว่าเนื้อด้านในนิ่มไม่แข็ง
การทานสับปะรด
การทานสับปะรดสดสำหรับบางคน อาจทำให้เกิดอาการแสบลิ้นได้ แต่ถ้านำสับปะรดมาแปลงเป็นอาหารก็ช่วยได้ เช่น ผัดเปรี้ยวหวาน นำมาใส่ในแกงเหลือง ข้าวผัดสับปะรด หรือนำมาใส่ในเมนูแกงจืด ช่วยเพิ่มรสชาติในน้ำซุปได้ นำมาใส่ในสลัดผลไม้ เครื่องเคียงในอาหารคาวต่างๆ
นอกจากนี้ยังนำมาแปรรูปในโรงงาน เช่น สับปะรดกระป๋อง สับปะรดอบแห้ง แยมสับปะรด นำมาทำเป็นเครื่องดื่ม เช่น น้ำสับปะรดคั้นสด หรือ นำมาปั่นเป็นน้ำสมูทตี้ ไอศครีมสับปะรด การทานสับปะรดให้ได้คุณค่า แนะนำควรทานแบบสดๆ และถ้าเป็นน้ำสับปะรด ควรเป็นน้ำคั้นจากสับประรด 100% ไม่เติมน้ำตาลและวัตถุกันเสีย คุณจะได้คุณค่าจากสับปะรดที่แท้จริง นอกจากนี้ก็ยังมีข้อควรระวังในการทานสับปะรดคือ ไม่ควรทานตอนท้องว่าง เพราะเอนไซม์จะทำให้กระเพราะอาหารเกิดการระคายเคือง และ ไม่ควรทานสับปะรดดิบ เพราะมีฤทธิ์เป็นยาถ่ายอย่างแรง และอาจงดสำหรับผู้เป็นกรดไหลย้อน
อ้างอิง
https://sciplanet.org/content/9384
https://www.healthline.com/nutrition/pineapple-juice-benefits#1