งูยักษ์ พญางู หรือเทียบเท่านาคีหรือนาคา งูที่มีขนาดใหญ่มากขนาดลำตัวผ่านประตูได้พอดี จริงๆแล้วมีในยุค Paleocene (66 ล้านถึง 56 ล้านปีก่อน) ซึ่งเป็นงูที่สูญพันธุ์ไปแล้ว มีชื่อเรียกทางวิชาการว่า
Titanoboa (Titanoboa cerrejonensis) “ไททันโนโบ” เคยมีชีวิต และเป็นฟอสซิลที่มีอายุ 58 ถึง 60 ล้านปีก่อน
นักบรรพชีวินวิทยาได้ประมาณการว่าความยาวลำตัวของไททันโนโบที่โตเต็มวัยโดยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 13 เมตร (42.7 ฟุต) และน้ำหนักเฉลี่ยประมาณ 1,135 กก. (1.25 ตัน) เจ้างูยักษ์โบราณ “Titanoboa” มีความเกี่ยวข้องกับอนาคอนดาและงูเหลือมที่มีชีวิต
ขนาดของ “ไททันโนโบ” เมื่อเทียบกับมนุษย์
- งูยักษ์”ไททันโนโบ” ได้ถูกพบและเผยแพร่ครั้งแรกในปี 2009 ในโคลอมเบียซึ่งอยู่ทางตะวันตกของปากทะเลสาบมาราไกโบ คาดว่า Titanoboa อาจมีกระดูกสันหลังมากกว่า 250 ชิ้น พบตัวอย่างที่มีกะโหลกศีรษะที่เกือบสมบูรณ์อย่างน้อยหนึ่งชิ้น ความยาวโดยเฉลี่ยของTitanoboa ประมาณ 13 เมตร ความยาวของสายพันธุ์นี้ กับอนาคอนดาที่โตเต็มวัยจะมีความยาวเฉลี่ยประมาณ 6.5 เมตร (21.3 ฟุต) ในขณะที่อนาคอนดาที่ทำลายสถิติจะมีความยาวประมาณ 9 เมตร (ประมาณ 29.5 ฟุต) ไม่พบงูที่มีชีวิตซึ่งมีความยาวที่ตรวจสอบแล้วเกิน 9.6 เมตร (ประมาณ 31.5 ฟุต)
-
ขนาดมหึมาของงูนี้มีความเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับสภาพอากาศของยุคพาลีโอซีน*เป็นยุคที่งูยักษ์ ซึ่งคล้ายกับสัตว์เลือดเย็นอื่นๆ งูจะต้องมีปริมาณความอบอุ่นที่เหมาะสมเพื่อรักษาการเจริญเติบโตตามปกติเพื่อให้มีขนาดใหญ่ และจะต้องมีสภาพแวดล้อมที่อบอุ่นเป็นพิเศษ เช่น สภาพแวดล้อมที่มีลักษณะเฉพาะของยุคพาลีโอซีน
หมายเหตุ : ยุคพาลีโอซีน : Paleocene มีอายุประมาน 66 ถึง 56 ล้านปีก่อนถึงปัจจุบัน ลักษณะ โลกร้อนขึ้นปกคุมด้วยป่าดิบ ทวีกระจายตัวออกจากกันในทวีปยุโรปเอเชียและอเมริกาเหนือ
โครงกระดูกบางส่วนของงูยักษ์ที่มีลักษณะคล้ายงูเหลือม ชื่อว่า Titanoboa cerrejonensis ถูกค้นพบในโคลอมเบียโดยทีมนักวิทยาศาสตร์นานาชาติ และขณะนี้อยู่ที่พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติฟลอริดา Jonathan Bloch นักบรรพชีวินวิทยาสัตว์มีกระดูกสันหลังของพิพิธภัณฑ์ฟลอริดากล่าวว่า “เมื่อพิจารณาจากเส้นผ่านศูนย์กลางของกระดูกสันหลังฟอสซิล งูยักษ์ นั้นมีความยาวประมาณ 42 ถึง 45 ฟุต มีขนาดเท่าไดโนเสาร์ T-REX ชื่อ “ซู” (Sue) ซึ่งปัจจุบันแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์สนามของชิคาโก
Jonathan Bloch ยังให้ข้อมูลเพิ่มเติมไททันโนโบว่าดังนี้: “ร่างกายของงูนั้นกว้างมากจนถ้ามันเคลื่อนลงมาตามโถงทางเดินและเข้ามาในห้องทำงานเลื้อยผ่านประตู ลำตัวมันจะต้องถูกกรอบประตูบีบ เพราะขนาดลำตัวของมันใหญ่กว่า” งูยักษ์ไททันโนโบยังมีชีวิตในช่วงยุค Paleocene ซึ่งเป็นช่วง 10 ล้านปีทันทีหลังจากการสูญพันธุ์ของไดโนเสาร์เมื่อ 65 ล้านปีก่อน ในระหว่างการสำรวจ นักวิทยาศาสตร์พบโครงกระดูกจำนวนมากของเต่ายักษ์และญาติจระเข้ดึกดำบรรพ์ที่สูญพันธุ์ไปแล้วซึ่งน่าจะถูกงูยักษ์กินเข้าไป
“ถ้าคุณดูสัตว์เลือดเย็นและการแพร่กระจายของพวกมันบนโลกทุกวันนี้ สัตว์ขนาดใหญ่จะอยู่ในเขตร้อน และพวกมันมีขนาดเล็กลงเมื่ออยู่ห่างจากเส้นศูนย์สูตรมากขึ้น” เขากล่าว
“จากขนาดของงู ทีมงานสามารถคำนวณอุณหภูมิเฉลี่ยประจำปีที่เส้นศูนย์สูตรในอเมริกาใต้เมื่อ 60 ล้านปีก่อน ซึ่งอยู่ที่ 91 องศาฟาเรนไฮต์ ซึ่งอุ่นกว่าวันนี้ประมาณ 10 องศา”
ในยุคประวัติศาสตร์มีซากฟอสซิลที่พบอธิบายที่มาของความเชื่อหรือเรื่องเล่าของงูยักษ์ได้ ทำให้เรารู้ได้ว่ามีงูขนาดใหญ่ที่มีขนาดใหญ่กว่างูอนาคอนด้า(anaconda-water boa: เป็นงูขนาดใหญ่ ไม่มีพิษ ว่ายน้ำได้ดี อาศัยอยู่ในหนอง บึง และแม่น้ำในป่าดิบชื้นในทวีปอเมริกาใต้และเกาะตรินิแดด) และสามารถกลืนกินสัตว์ใหญ่หรือมนุษย์ลงไปได้นั้นมีจริงๆ แต่ยังไม่มีหลักฐานใดทางวิทยาศาสตร์ว่างูยักษ์กลายเป็นเทพบุตร หรือเทวดาองค์ใดๆ การค้นพบทำให้เราตื่นเต้นและทราบว่ายุคเมื่อหลายสิบหรือร้อยล้านปีก่อนโลกเรามีสัตว์ชนิดใดอาศัยอยู่
ขอบคุณข้อมูล : https://www.floridamuseum.ufl.edu/science/at-45-feet-long-titanoboa-snake-ruled-the-amazon/