หลายปีที่ผ่านมามีแนวโน้มหนึ่งที่เราเห็นได้ชัดเจนขึ้นเรื่อย ๆ คือบริษัทส่วนใหญ่จะต้องการคนรุ่นใหม่เข้ามาทำงานมากขึ้น ไม่เปิดรับคนรุ่นเก่า ๆ ที่อายุ 40 ปีขึ้นไป โดยเริ่มต้นจากอุตสาหกรรมเทคโนโลยี จนตอนนี้ลามไปถึงภาคธุรกิจอื่น ที่เริ่มมีความต้องการในลักษณะเดียวกัน
ตอนนี้คนรุ่นเก่าก็เริ่มจะถูกจัดให้เป็นคนหัวเก่า ไม่ยอมเปลี่ยนแปลง ไม่ทันสมัย ไม่กล้าเสี่ยง เหมือนคนรุ่นใหม่ ที่บริษัทมองว่าเข้าใจคนรุ่นเดียวกันได้ดีกว่า กล้าที่จะเสี่ยง ชอบการเปลี่ยนแปลง เหมาะกับการผลักดันให้องค์กรอยู่รอดในภาวะการแข่งขันที่สูงในปัจจุบัน เพราะความผันผวนทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี จนต้องสรรหาโมเดลทางธุรกิจใหม่ ๆ
ต่างจากเมื่อหลายปีก่อน ที่มีการวิจัยของ Deloitte (Deloitte Touche Tohmatsu) เป็นหนึ่งในบริษัทตรวจสอบบัญชีสี่แห่งที่ใหญ่ที่สุดในโลก) ได้ทำการสอบถามบริษัทจำนวนประมาณ 10,000 แห่งว่า “อายุผู้สมัครงานมีความได้เปรียบหรือเสียเปรียบในการแข่งขันในองค์กรของคุณหรือไม่”
คำตอบมากกว่าสองในสามของบริษัทต่างๆ บอกว่าอายุที่มากขึ้นนั้นเป็นข้อเสียเปรียบทางการแข่งขัน สอดคล้องกับข้อมูลจาก AARP (American Association of Retired Persons หรือ สมาคมผู้เกษียณจากงาน) ที่แสดงให้เห็นว่าสองในสามของผู้ที่มีอายุ 45-74 ปี เคยมีประสบการณ์การเลือกปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับอายุ หรืออีกนัยหนึ่ง หากคุณมีอายุมากกว่า คุณมักจะถูกมองว่ามีความสามารถน้อยกว่า การปรับตัวก็ทำได้น้อยลง
ทำไมสิ่งนี้ถึงเกิดขึ้น?
ปัจจุบันเรากำลังเผชิญกับแนวโน้มทางประชากรที่ชัดเจนสองประการ
ประการแรก เรามีอายุยืนยาวขึ้น อายุขัยเฉลี่ยของมนุษย์เพิ่มขึ้นสามเดือนในแต่ละปี ยกตัวอย่างเช่นในสหรัฐอเมริกา อายุขัยเฉลี่ยอยู่ที่ 47 ปีเมื่อต้นศตวรรษที่ 20 ขณะนี้อยู่ที่ 79 ปีและภายในสิ้นศตวรรษนี้ก็จะเฉลี่ยอยู่ที่ 100 ปี
ประการที่สอง คนหนุ่มสาวมีบุตรน้อยลง และอัตราการเจริญพันธุ์ลดลง เช่น ในสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร เยอรมนี ญี่ปุ่น และประเทศอื่นๆ มีอัตราการเกิดประชากรอยู่ที่ 1.7–1.9 คน ซึ่งต่ำมาก วิธีเดียวที่จะทำให้เศรษฐกิจเติบโตได้คือการปรับปรุงการผลิตประชากร (ซึ่งไม่น่าจะเกิดขึ้น) หรือการย้ายถิ่นฐานประชากร (ก็จะเป็นประเด็นทางการเมือง)
ทางออกและการจ้างงานแบบบูรณาการ
เราได้ให้เหตุผลว่าบริษัทต่างๆ ควรจะนำผู้สูงอายุกลับมาทำงานและให้งานที่สำคัญและมีความหมายแก่พวกเขา
การเกษียณอายุควรจะเป็นผู้ที่มีอายุเกิน 65 ปี
การวิจัยพบว่าคนที่หยุดทำงานและเกษียณอายุมักประสบกับภาวะซึมเศร้า หัวใจวาย และอาการป่วยไข้ที่ไม่ปกติ มากกว่าคนที่มีเป้าหมายในชีวิตเท่าๆ กัน โดยเฉพาะผู้ที่มีความสุขกับการทำงานที่ยาวนานและชอบทำงาน
สตีเฟน ฮอว์คิง กล่าวไว้ว่า “งานให้ความหมายและเป้าหมายแก่คุณ และชีวิตจะว่างเปล่าหากปราศจากมัน”
การแสดงถึงการให้โอกาสและการให้คุณค่าแก่ผู้อื่น มันจะช่วยให้คุณมีทั้งเพื่อนและเพื่อนร่วมงาน ทั้งยังช่วยเพิ่มสติปัญญาและช่วยทางด้านสุขภาพ เหตุนี้เราจึงไม่อยากเกษียณถ้าเรายังรักงานทึ่ทำอยู่
นี่จึงแสดงให้เห็นว่าอายุนั้นสอดคล้องกับประสบการณ์ในที่ทำงาน ส่วนการวิจัยก็พิสูจน์ได้ ตรงกันข้ามกับความเชื่อที่ว่าคนที่มีอายุมากจะกลายเป็นผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จ หรือผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปี มีแนวโน้มที่จะสร้างบริษัทและประสบความสำเร็จมากกว่าสามเท่า เพราะความอดทนและการรู้จักการทำงานร่วมกัน
มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ในประเด็นนี้ สำหรับคนส่วนใหญ่แรงจูงใจในการทำงานมักจะลดลงหลังจากอายุ 30 ปี แต่ความรู้และความเชี่ยวชาญ ซึ่งเป็นหลักในการทำงาน จะยังคงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แม้กระทั่งอายุเกิน 80 ไปแล้ว
นอกจากนี้ยังมีหลักฐานอื่นอีก เช่น แรงผลักดันและความอยากรู้อยากเห็นจะเป็นตัวเร่งทำให้ได้มาซึ่งทักษะใหม่ ซึ่งเกิดในช่วงวัยผู้ใหญ่ตอนปลาย เพราะการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ นี้นไม่มีการจำกัดอายุและมากขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้น พวกเขาจึงควรมีส่วนร่วมในตลาดแรงงานมากขึ้น
นอกจากคุณค่าและความสามารถที่พนักงานที่มีอายุมากกว่าจะนำมาสู่ภาคแรงงานได้ ยังมีเรื่องความหลากหลายทางความความคิดอีกด้วย จากการพัฒนาส่วนใหญ่ของเรา ไม่ว่าจะเป็นด้านวิทยาศาสตร์ ธุรกิจ ศิลปะ หรือกีฬา มันเป็นผลมาจากกิจกรรมของมนุษย์ที่มีการประสานงานกัน หรือคนที่ทำงานร่วมกันที่เหนียวแน่น
วิธีที่ดีที่สุดในการทำผลงานของทีมคือการระดมความหลากหลายทางความคิด ซึ่งเป็นโอกาสที่เกิดขึ้นได้มากหากคุณทำให้ผู้คนในวัยต่างๆ และประสบการณ์มาทำงานร่วมกันได้
บริษัทสามารถดำเนินการอะไรได้บ้าง? เพื่อเอาชนะการเลือกปฏิบัติด้านอายุอย่างแท้จริง และความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นกับเศรษฐกิจโลกของเรา บริษัทต่างๆ ควรต้องดำเนินการ ตามคำแนะนำดังนี้
- ให้ตำแหน่งและบทบาทแก่ผู้สูงอายุที่มีความเชี่่ยวชาญ มีส่วนร่วมในงานที่เกี่ยวข้อง คุณสามารถทำเช่นนี้ได้โดยไม่จำเป็นต้องให้ค่าจ้างที่สูงขึ้น (เป็นป้องกันการแทนที่พวกเขาด้วยคนหนุ่มสาวที่ได้รับค่าจ้าง “ถูกกว่า”)
- เสนอที่พักเพื่อการทำงานที่ยืดหยุ่น ซึ่งรวมถึงการเข้าถึงพื้นที่ทำงานได้ง่ายขึ้น และสิ่งอื่น ๆ ที่สามารถช่วยตอบสนองความต้องการของผู้คนทุกวัย
- ดูที่ส่วนของการจ่ายงานและตามระดับ ไม่ใช่ที่อายุงาน ตำแหน่งงานไม่ใช่การวัดผลในการจ่ายเงิน เว้นแต่จะขึ้นอยู่กับประสบการณ์โดยตรงและทักษะที่สามารถทำรายได้ให้กับบริษัท เป็นการดีที่ผู้สูงวัยสามารถหาเงินได้น้อยกว่าคนที่อายุน้อยกว่าหากพวกเขาเพิ่งเริ่มงาน ซึ่งมันก็ยุติธรรมดี
- นำความหลากหลายทางอายุมาสู่โปรแกรม DEI (DEI คือความหลากหลาย ความเสมอภาค และการรวมกลุ่มกัน และยังมี B อีกตัว ซึ่งมาจากคำว่า Belonging ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน)เป็นการแสดงให้เห็นว่าทีมที่มีอายุต่างกันจะรู้สึกปลอดภัยมากกว่าทีมที่มีอคติเรื่องอายุ อายุนำมาซึ่งความรู้สึกปลอดภัยและสติปัญญามาสู่ทีม ดังนั้นเราจงใช้มันให้เป็นประโยชน์
- มอบบทบาทผู้บริหาร หัวหน้างาน และบทบาทพี่เลี้ยง ตำแหน่งเหล่านี้จะทำให้พวกเขาได้ใช้ประโยชน์จากความเชี่ยวชาญที่ได้จากการทำงานมาเป็นเวลานานหลายปี
- รับสมัครคนสูงอายุ การให้โอกาสพวกเขากลับไปทำงานหลังจากเกษียณอายุ และเล่าเรื่องราวของผู้สูงอายุที่ประสบความสำเร็จในบริษัทของคุณ บริษัทต่างๆ เช่น Boeing, Bank of America, Walgreens, GM และอื่นๆ ได้เชิญพนักงานที่มีอายุมากกว่าให้กลับมาทำงาน โดยผ่านโปรแกรมเฉพาะที่ปรับให้เหมาะกับวัยสูงอายุ ด้วยการให้ “ผลตอบแทน”
- การโค้ชและการสอน โดยไม่เลือกปฏิบัติตามอายุ รวมถึงแก้ปัญหาการอคติซึ่งเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย เมื่อผู้ปฏิบัติงานที่มีอายุมากกว่าพบว่าพวกเขาได้รับการยกเว้นด้วยเหตุผลที่ไม่สมควรพวกเขาก็สามารถฟ้องบริษัทของคุณได้
- สอนคนรุ่นใหม่เกี่ยวกับการให้คำปรึกษา แสดงให้พวกเขาเห็นว่าพวกเขาสามารถช่วยเหลือผู้สูงอายุได้อย่างไรและให้เข้าใจถึงวิธีจัดการคนงานที่สูงอายุที่มีอคติในตัวเอง
จำไว้ว่าคนหลายคน ไม่ว่าจะอายุเท่าไหร่ พวกเค้ามีเงินไม่พอเกษียณ (แม้ว่าพวกเขาต้องการ) ในสหรัฐอเมริกา การเกษียณอายุเมื่ออายุ 65 ปีมีค่าใช้จ่าย 1 ล้านดอลลาร์ แต่ชาวอเมริกัน 21% ไม่มีเงินออม และ 10% มีเงินออมน้อยกว่า 5,000 ดอลลาร์
คนทุกวัยมีแรงจูงใจที่จะมาทำงาน หากคุณสามารถสร้างประสบการณ์ที่ดี ยุติธรรม ให้กับพนักงานที่มีอายุมากกว่าและคนที่อายุน้อยกว่า คุณจะไม่เพียงพบว่าบริษัทของคุณมีนวัตกรรมมากขึ้น และให้ผลกำไรเมื่อเวลาผ่านไป แต่ยังจะเป็นประโยชน์ต่อสังคมโดยรวมอีกด้วย
“สำหรับประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2564 ประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ ทำให้ภาครัฐเร่งเตรียมมาตรการรองรับผู้สูงอายุรัฐบาลได้มีนโยบายและมีความต้องการให้ “ผู้สูงอายุที่เข้าสู่วัยเกษียณ” ได้มีโอกาสกลับเข้าสู่ชีวิตการทำงานอีกครั้ง เพื่อช่วยให้ผู้สูงอายุมีรายได้หลังเกษียณที่เพียงพอ และบรรเทาภาระงบประมาณภาครัฐด้านสวัสดิการชราภาพในระยะยาว ที่สำคัญ ยังเป็นการแก้ปัญหาขาดแคลนแรงงานในบางวิชาชีพ”
ที่มา
https://hbr.org/2019/09/the-case-for-hiring-older-workers
https://www.ffwthailand.net/2022/07/01/dei-diversity-equity-inclusive/