ข้อควรรู้ “แฟรนไชส์” ในเมืองไทย

ระบบแฟรนไชส์ในเมืองไทย

ธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศไทยที่มีการริเริ่มมากกว่า 20 ปี เริ่มตั้งแต่ปีพ.ศ. 2526 ธุรกิจแรกๆ ที่พยายามผลักดันการขยายงานโดยใช้รูปแบบแฟรนไชส์ เป็นธุรกิจด้านอาหารและร้านค้าแบบมินิมาร์ท แต่ส่วนใหญ่จะมีปัญหาในเรื่องความเข้าใจที่ถูกต้องของสิทธิ ที่มักให้แฟรนไชส์เป็นผู้ลงทุน ที่เน้นทำธุรกิจแบบซื้อเพื่อการลงทุน ไม่มีการมองถึงการสร้างธุรกิจของตนเอง บางครั้งยังใช้การบริหารแบบเก่าที่เน้นความเป็นระบบครอบครัวทำให้อัตราความล้มเหลวธุรกิจแฟรนไชส์ของไทยในภาพรวมเพิ่มขึ้น บางครั้งการลงทุนของแฟรนไชส์ซีที่ประสบปัญหาเกิดจากการจัดการของตนเองบ้าง หรือก็เกิดจากระบบงานของบริษัทแม่ที่เน้นการขยายธุรกิจที่มุ่งผลทางการตลาด

รูปแบบและปัจจัย

ธุรกิจแฟรนไชส์จะต้องประกอบด้วยปัจจัยหลัก 3 ประการคือ

  • มีผู้ซื้อและผู้ขายแฟรนไชส์ เป็นความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ฝ่าย ก็คือแฟรนไชส์ซอร์ และแฟรนไชส์ซี ซึ่งมีการตกลงร่วมในการทำธุรกิจร่วมกันทั้งมีสัญญาและไม่มีสัญญา แต่ในอนาคตรูปแบบข้อตกลงจะปรับรูปสู่ระบบการสร้างสัญญาทั้งหมด เพื่อให้ทั้งระบบแฟรนไชส์ในตลาดจะต้องถูกระบบ เพราะไม่เช่นนั้นแฟรนไชส์ซีที่ไม่ดีจะทำลายระบบด้วย
  • เครื่องหมายการค้า หรือบริการ มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีรูปแบบ ระบบธุรกิจ และใช้เครื่องหมายการค้าเดียวกัน ระบบการจัดการธุรกิจอาจจะเป็นเครื่องมือ หรือสูตรที่คิดค้นขึ้นมาเอง ในการผลิตสินค้า หรือบริการ โดยมีมาตรฐานที่อยู่ในตราสินค้า Brand เดียวกัน
  • มีการจ่ายค่าตอบแทนอย่างน้อย 2 อย่าง คือ ค่าแรกเข้าในการใช้เครื่องหมายการค้า (Franchise Fee) และค่าตอบแทนผลดำเนินการ (Royalty Fee)

ประเภทของแฟรนไชส์

ประเภทของการให้สิทธิ์แฟรนไชส์ ประเภทของการให้สิทธิ์แฟรนไชส์ ซึ่งอาจจะแบ่งรูปแบบได้ ๓ แบบ ดังนี้
๑. แฟรนไชส์แบบบุคคล (Individual Franchise or Sub-Franchise)
๒. แฟรนส์ไชส์แบบพัฒนาพื้นที่ (Sub-Area License or Development Franchise)
๓. แฟรนไชส์แบบตัวแทน (Master Franchise)
 
ประเภทการให้สิทธิ์ทั้ง ๓ แบบนี้มีทั้งข้อดีและข้อเสียอยู่ในตัวเองขึ้นอยู่กับเป้าหมายและ ลักษณะธุรกิจของแฟรนไชส์ซอร์เป็นเกณฑ์แต่แฟรนไชส์ซอร์หลายแห่งก็มีการใช้รูปแบบทั้ง๓ ผสมผสานกันใน กลยุทธ์ของแฟรนไชส์ตามแต่เงื่อนไขของธุรกิจและการตลาด รวมถึงการแข่งขัน
 

การให้สิทธิ์ในแต่ละประเภท แบ่งเป็นดังนี้

๑. แฟรนไชส์แบบบุคคล (Individual Franchise or Sub-Franchise) เป็นรูปแบบการให้สิทธิ์แฟรนไชส์แก่บุคคลหนึ่งบุคคลใด หรือนิติบุคคลองค์กรหนึ่งองค์กรใด ให้ด าเนินธุรกิจภายใต้เครื่องหมายการค้าหรือการบริการจากแฟรนไชส์ซอร์เพียงแค่เฉพาะตัวหรือเฉพาะพื้นที่ ตามข้อตกลงไม่สามารถถ่ายทอดสิทธิ์ที่ได้รับมาให้กับบุคคลอื่นได้ซึ่งมี ๒ ลักษณะคือ
  • ๑.๑ Single unit Franchise หมายถึง แฟรนไชส์ซีจะได้รับสิทธิ์ในการดำเนินกิจการเฉพาะตัว ได้เพียงหนึ่งแห่งเท่านั้น
  • ๑.๒ Multi unit Francgise หมายถึง แฟรนไชส์ซีจะได้รับสิทธิ์ในการดำเนินกิจการเฉพาะตัว ได้หลายแห่งภายในพื้นที่กำหนด
๒. แฟรนไชส์แบบพัฒนาพื้นที่ (Sub-Area License or Development Franchise) เป็นรูปแบบการให้สิทธิ์แก่บุคคลหนึ่งบุคคลใดหรือนิติบุคคล ในการทำตลาดแฟรนไชส์ ในอาณาเขตที่กำหนด โดยที่แฟรนไชส์ซีจะสามารถดำเนินธุรกิจที่ได้รับมาภายในระยะเวลาที่ได้ตกลงกัน โดยปกติจะไม่สามารถขายสิทธิ์ที่ได้รับมาต่อให้กับบุคคลอื่นได้
 
๓. แฟรนไชส์แบบตัวแทน (Master Franchise) เป็นรูปแบบการให้สิทธิ์แก่บุคคลใดหรือนิติบุคคลหนึ่งเป็นรายแรกในอาณาเขตภูมิภาคหรือ ระดับประเทศตามที่กำหนด เพื่อให้บุคคลหรือนิติบุคคลดังกล่าวดำเนินการขยายสาขาและทำการขยายการให้ สิทธิ์หน่วยย่อยทั้งแบบ Individual Franchise หรือแบบ Sub-Area License แก่บุคคลอื่นในพื้นที่ต่อไป

สรุป

ผู้ที่จะทำธุรกิจแฟรนไชส์ ต้องเข้าใจว่าแฟรนไชส์คืออะไรเสียก่อน แฟรนไชส์คือวิธีการหนึ่งในการ ขยายตลาดและช่องทางการจัดจำหน่ายของธุรกิจ โดยผ่านผู้ประกอบการอิสระที่เรียกว่าแฟรนไชส์ซี ผู้ที่ต้องการขายแฟรนไชส์ คือแฟรนไชส์ซอร์หรือเจ้าของสิทธิเครื่องหมายการค้า ต้องมีความเชี่ยวชาญในการ ประกอบธุรกิจนั้น และธุรกิจนั้นประสบความสำเร็จมาแล้ว จะขยายธุรกิจจึงถ่ายทอดให้แฟรนไชส์ซี ในรูปแบบ ของการทำงานทั้งหมด เช่น ระบบการผลิต ระบบการขาย ระบบการบริหารตลาด เพื่อที่จะให้รูปแบบวิธีดำเนิน ธุรกิจ ในทุกๆสาขาให้อยู่ในมาตรฐานเดียวกัน
การจัดทำสัญญาธุรกิจแฟรนไชส์ในแต่ละกรณีควรได้รับคำปรึกษาแนะนำจากนักกฎหมายที่มีความเชี่ยวชาญในสัญญาธุรกิจแฟรนไชส์
 
ที่มา : “กฎหมายเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์” นางวิลาสินี สิทธิโสภณ วิทยากรเชี่ยวชาญ กลุ่มงานกฎหมาย ๓ สำนักกฎหมาย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร