การท่องเที่ยวแบบยั่งยืน นักท่องเที่ยวควรทำตัวอย่างไร
การเป็นนักท่องเที่ยวที่ดี เที่ยวแบบรับผิดชอบต่อทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ทำให้เป็น การท่องเที่ยวแบบยั่งยืน แต่เรื่องนี้ก็ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวที่จะเป็น “ผู้เปลี่ยนแปลง” แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องได้รับแรงสนับสนุนจากหน่วยงานและชุมชนที่เกี่ยวข้องที่จะพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวไปในทางรักษาทรัพยากรด้วย เพื่อเป็นการช่วยให้ฟื้นฟูธรรมชาติไปในตัว
พฤติกรรมและลักษณะการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนที่นักท่องเที่ยวสามารถทำได้ 10 วิธีต่อไปนี้จะเป็นแนวทางในการกระตุ้นอุตสาหกรรม การท่องเที่ยวแบบยั่งยืนไปในทางที่ดีขึ้น
1.ท่องเที่ยวแบบ 2-in-1
ขึ้นเครื่องบินให้น้อยลง และหยุดพักผ่อนให้นานขึ้น
วิธีการผจญภัยแบบ 2-in-1: บินน้อยลง แต่วันหยุดไม่น้อยลง เช่นการใช้เวลาในการซึมซับวัฒนธรรมท้องถิ่น ก็ทำให้พักได้นานขึ้นและพักผ่อนอย่างคุ้มค่า
2.ท่องเที่ยวแบบเนิบช้า หรือ Slow Travel ที่ได้รับความนิบมอย่างรวดเร็ว
การท่องเที่ยวแบบเนิบช้า’ ในปีนี้ (2022) ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างมาก ขึ้นอยู่กับความแตกต่างไปตามแต่ละท้องถิ่น
เช่น การเดินทางรอบโลกโดยทางรถไฟหรือทางเรือ เรียนการทำอาหารทั่วประเทศญี่ปุ่น หรือเรียนรู้วิธีการขับรถตุ๊กตุ๊กในประเทศไทย
ซึ่งนับเป็นการสร้างปฏิสัมพันธ์กับชุมชน ธรรมชาติ และวัฒนธรรมในท้องถิ่น ซึ่งดีกว่าการไปแวะชมอย่างเดียว
3.ท่องเที่ยวแบบสังสรรค์กับชาวบ้านหรือคนในท้องถิ่น
อาจจะเป็นอาสาสมัครในวันหยุด หรือเป็นการทำความสะอาดตามชายหาดช่วงยามบ่าย การพบปะเพื่อนนักเดินทาง เป็นการปฏิสัมพันธ์กับคนในท้องถิ่น
4.ท่องเที่ยวด้วยการล่องเรือภายในระยะเวลาสั้นด้วยเรือขนาดเล็ก
เราจะเห็นว่าการท่องเที่ยวด้วยการล่องเรือสำราญขนาดใหญ่ถือว่าเป็นการช่วยเหลือชุมชนท้องถิ่นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
แต่การล่องเรือขนาดเล็กภายในระยะเวลาสั้นนั้นสามารถไปถึงทุกซอกมุมของจุดหมายปลายทางได้และใกล้ชิดชุมชนท้องถิ่นได้ง่ายขึ้น เช่น การล่องเรือตามแม่น้ำลำคลอง
5.เที่ยวแบบซาฟารี
การล็อกดาวน์ในช่วงโควิด19 ถือว่าเป็นการไม่รบกวนธรรมชาติ การท่องเที่ยวธรรมชาติเป็นการช่วยฟื้นฟูแหล่งที่อยู่อาศัยและเป็นการปกป้องสัตว์ป่า ตั้งแต่ป่าไม้ไปจนถึงพื้นที่ชุ่มน้ำ เป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอนตามธรรมชาติของโลก ซึ่งมีความสำคัญต่อการแก้ไขปัญหาวิกฤตสภาพภูมิอากาศ
6.การผจญภัยของพวกบล็อกบัสเตอร์ในราคาประหยัด
การท่องเที่ยวแบบ Bucket-list หรือทำตามเป้าหมายที่วางไว้นั้นเป็นสิ่งดีและกำลังจะกลับมา แต่ด้วยค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้นและความกังวลเกี่ยวกับสภาพอากาศ เมื่อมีความต้องการเพิ่มขึ้น ราคาก็เพิ่มมากขึ้นตามตัวเลือกที่เป็นมิตรต่อโลก
นักผจญภัย บางครั้งก็ไม่ได้ทำลายสิ่งแวดล้อม พวกเขาก็มักจะเปลี่ยนที่พักจากโรงแรมในเครือ มาเป็นพักที่โฮมสเตย์ที่มีราคาถูกกว่ามาก รวมทั้งยังได้ประโยชน์จากมื้ออาหารที่ปรุงเองแบบดั้งเดิม และยังได้ข้อมูลเชิงลึกชุมชนท้องถิ่นที่มีค่ามากๆ และเป็นประโยชน์โดยตรงต่อคนในท้องถิ่นด้วย
7.ท่องเที่ยวแบบกีฬากลางแจ้ง
การท่องเที่ยวด้วยกีฬากลางแจ้ง เช่น การฝึกไตรกีฬาและการวิ่ง ต้องการทำทัวร์ที่ต้องใช้อุปกรณ์ออกกำลังกาย เช่น การเดินและการปั่นจักรยานในวันหยุดก็ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเช่นกันในปีนี้ และที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นมากที่สุดคือ การพายเรือคายัคในแม่น้ำและทะเลสาบ เพราะสร้างความสนุก ดีต่อสุขภาพ ปลอดคาร์บอน เป็นวิธีที่หลีกหนีจากฝูงชนและเป็นการสำรวจจุดหมายปลายทางที่แตกต่างออกไป
8.ท่องเที่ยววันหยุดในช่วงฤดูหนาว
การเที่ยววันหยุดในฤดูหนาวในยุคปัจจุบัน มีความสำคัญกว่าการเล่นสกีรีสอร์ทแบบตามที่ลาดเชิงเขา เนื่องจากภาวะโลกร้อนในปัจจุบัน ทำให้หิมะละลายเร็วขึ้น มีผลทำให้พวกเขาต้องอยู่บนทางลาดที่ลื่นง่าย
ในปีนี้ มีกิจกรรมทางเลือกในฤดูหนาวที่กำลังได้รับความสนใจ เช่น การเดินบนหิมะผ่านหมู่บ้านในโรมาเนีย, กิจกรรมซาฟารีในที่ราบสูงสกอตติช และการพักร่วมกับชาวซามีในแลปแลนด์ของสวีเดน โดยการนำทางจากคนในท้องถิ่น ซึ่งเป็นมิตรกับธรรมชาติ
9.สำคัญกว่าความยั่งยืน คือทิ้งไว้ ‘เพียงรอยเท้า’
ท่ามกลางความกังวลเรื่องสภาพอากาศที่อุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้น เรากำลังกลายเป็นผู้บริโภคที่ควรมีส่วนรับผิดชอบด้านสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นการซื้ออาหารหรือสินค้าอุปโภคบริโภค รวมถึงการเลือกวันหยุดของเราด้วย
นักเดินทางที่มีความรับผิดชอบในปัจจุบันเริ่มเบื่อหน่ายกับ การตลาดแบบฟอกเขียว
Greenwashing (การฟอกเขียว) คือการตลาดที่เจ้าของผลิตภัณฑ์อ้างว่ามีความใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมในด้านต่างๆ มีทังด้านการดำเนินงาน เป้าหมาย ตัวสินคเาหรือการบริการ ซึ่งความเป็นจริงไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ ในนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมของบริษัททั้งสิ้น
ดังนั้นนักเดินทางจึงเลือกการท่องเที่ยวที่เป็นธรรมชาติ เดินทางในวันหยุดที่เริ่มตั้งแต่การพักในเมืองไปจนถึงกิจกรรมซาฟารีที่มีส่วนใยการช่วยฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพ
10.ท่องเที่ยวตามเส้นทางที่ไม่ค่อยมีการสำรวจและการสลับสับเปลี่ยนตามฤดูกาล
การท่องเที่ยวออกจากเส้นทางหรือประเทศที่ไม่คุ้นเคย อาจจะเป็นความท้าทายสำหรับบางคน แถมยังได้สัมผัสกับอีกด้านของจุดหมายปลายทางอีกด้วย
ตัวอย่างเช่น ความสนใจในประเทศมอนเตเนโกร มีสถิติเพิ่มขึ้นกว่า 160% ในปีนี้ มากกว่าจุดหมายปลายทางอื่นๆ
เราจะเห็นว่าการท่องเที่ยวที่มีการกระจายไปในที่ต่างๆ การท่องเที่ยวที่ข้ามภูมิภาคและฤดูกาล เป็นการช่วยแบ่งเบาภาระของสถานที่ท่องเที่ยวบางแห่งที่มีคนแออัดมากเกินไป แถมยังได้สัมผัสกับอีกด้านของจุดหมายปลายทางอีกด้วย
ที่มา https://www.independent.co.uk/travel/