นวัตกรรมสีเขียวจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร

หลายประเทศกำลังเผชิญกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่รุนแรง โดยเฉพาะจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคการเกษตร ซึ่งก่อให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) และมีเทน (CH4) ที่มีผลต่อโลกร้อน

เพื่อบรรเทาผลกระทบนี้ กรมลดโลกร้อนจึงได้ดำเนินการพัฒนานวัตกรรมสีเขียวจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ซึ่งเป็นทางออกที่สำคัญในการปรับเปลี่ยนวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่า ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและฝุ่นละออง PM2.5 รวมถึงสนับสนุนเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ของสหประชาชาติ 

โดยนวัตกรรมนี้ ได้รับการคัดเลือกจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ให้เป็นตัวแทนของประเทศไทยในการนำเสนอและประกวดผลงานวิจัยนี้ในเวที Japan Design, Idea and Invention Expo (JDIE 2023) ณ ประเทศญี่ปุ่น ได้รับรางวัลเหรียญทอง (Goal medal)  และรางวัลพิเศษ (Special prize) ภายใต้ Indonesian Invention and Innovation Promotion Association (INNOPA) สาธารณรัฐอินโดนีเซีย 

กระบวนการผลิตนวัตกรรมสีเขียวจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรถูกออกแบบให้มีความยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยใช้เทคโนโลยีการอัดวัสดุชีวมวลร่วมกับตัวเชื่อมประสานธรรมชาติ กระบวนการนี้ต้องการการควบคุมพารามิเตอร์สำคัญทางวิศวกรรม ได้แก่ อุณหภูมิ เวลา และแรงอัด ให้สอดคล้องกับคุณสมบัติทางกายภาพของชีวมวลแต่ละชนิด เพื่อให้ได้ชิ้นงานที่มีคุณสมบัติทางกลที่เหมาะสม เช่น ความแข็งแรง ทนทาน และความสามารถในการทนต่อการใช้งาน อีกทั้งยังมีคุณสมบัติเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติเมื่อสิ้นสุดการใช้งาน

นวัตกรรมสีเขียวจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรได้ถูกพัฒนาให้ครอบคลุมผลิตภัณฑ์หลายประเภท เช่น ถาดเพาะชำ ถุงเพาะชำ กระถางต้นไม้ ไม้อัด และไม้พาเลท กระบวนการผลิตเหล่านี้ถูกออกแบบให้มีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในทุกขั้นตอน โดยการใช้เทคโนโลยีการอัดวัสดุชีวมวลร่วมกับตัวเชื่อมประสานธรรมชาติ ซึ่งต้องควบคุมพารามิเตอร์ทางวิศวกรรม ได้แก่ อุณหภูมิ เวลา และแรงอัด ให้เหมาะสมกับวัสดุชีวมวลแต่ละชนิด 

ผลิตภัณฑ์ที่ได้มีความแข็งแรง ทนทาน และสามารถย่อยสลายได้ง่ายตามธรรมชาติ อีกทั้งกระบวนการผลิตยังมีต้นทุนต่ำ วัตถุดิบสามารถหาได้ง่ายในพื้นที่ ช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนและฝุ่นละออง PM2.5 ในสิ่งแวดล้อม 

ทั้งนี้ประชาชนโดยเฉพาะเกษตรกร ผู้ประกอบการด้านการเกษตร หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ผู้สนใจหารายได้เสริม รวมถึงนักวิจัยที่ต้องการต่อยอดนวัตกรรมจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้

ที่มา : https://www.facebook.com/share/p/8PxAviFprkacV5tv/