รายละเอียดศิลาฤกษ์ บีอาร์ที (BRT) ที่สกายวอล์ค BTS ช่องนนทรี

ใครที่ผ่านไปผ่านมาตรงทางเชื่อมลอยฟ้า หรือ สกายวอล์ค ระหว่างสถานีรถโดยสารประจำทาง ด่วนพิเศษ หรือ บีอาร์ที BRT : Bus Rapid Transport กับสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส BTS ช่องนนทรี คงจะตื่นตาตื่นใจกับความโดดเด่นอลังการของโครงสร้าง โครงเหล็กขนาดใหญ่ไม่น้อย จนประทับใจกันมาก บางคนมาถ่ายรูปเป็นที่ระลึก หรือบางทีก็มีคนมาถ่ายหนัง ถ่ายรูปรับปริญญากันบ่อยๆ

ที่นี่นอกจากโครงสร้างเด่นแล้ว มีจุดหนึ่งที่หลายคนเดินผ่าน แต่อาจไม่ได้สังเหตเห็น นั่นคือ
แท่นเล็กๆ ที่มีศิลาฤกษ์ของโครงการรถโดยสารประจำทาง ด่วนพิเศษ หรือ บีอาร์ที (Bus Rapid Transport) ติดไว้ให้เห็น ที่ด้านข้างของลานกว้าง ของสกายวอลค์ ที่หากเดินมาจากสถานีช่องนนทรี ก็อยู่ทางขวามือ ใครมาจากบีอาร์ที ก็อยู่ด้านซ้ายมือ

ไม่มีใครเห็นแต่เราเห็น หลังจากผ่านมาหลายครั้ง พอเห็นปุ๊บ ก็เลยเดินไปดูรายละเอียดทันที

ตัวหนังสือที่เขียนบนหินอ่อนศิลาฤกษ์นี้ มีตัวหนังสือเกี่ยวกับ ฤกษ์ยามว่า

“ศิลาฤกษ์ โครงการรถโดยสารประจำทาง ด่วนพิเศษ Bangkok BRT ณ วันที่ ๒๒ เดือนพฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๐ …ตรงกับวันอังคาร ขึ้น 6 ค่ำ เดือน มิถุนายน*** ปีกุน จุลศักราช ๑๓๖๙ ลัคนาสถิต ราศีสิงห์ เวลา ๑๒.๒๑ นาฬิกา เป็นมหัทโนฤกษ์ โอม ศานติ”

สรุปทำให้ได้รู้ว่า โครงการรถโดยสารประจำทาง ด่วนพิเศษ หรือ บีอาร์ที (BRT : Bus Rapid Transport) นี้ เริ่มโครงการตั้งแต่ปี 2550 มาแล้ว

บีอาร์ที สายนี้เปิดให้บริการวันที่ 29 พฤษภาคม พศ.2553 มีทั้งหมด 12 สถานี เส้นทางเริ่มจาก สถานีสาทร , อาคารสงเคราะห์, เทคนิคกรุงเทพ, ถนนจันทร์, นราราม, วัดด่าน, วัดปริวาส, วัดดอกไม้, สะพานพระราม 9, เจริญราษฎร์, สะพานพระราม 3 และสถานีสุดท้ายราชพฤกษ์ รวมความยาวเส้นทาง 16.5 กม. ผ่านถนนรัชดาตั้งแต่แยกราชพฤกษ์ ขึ้นสะพานพระราม 3 ยิงยาวถึงถนนนราธิวาสราชนครินทร์ จนถึงอยาสาทร

ช่วงแรกเปิดให้บริการราคาตั่วโดยสาร 5 บาท แต่มีการขาดทุน จึงปรับราคาตามระยะทาง แต่มาเป็นปัจจุบันตลอดเส้นทาง ไม่ว่านั่งกี่สถานีก็ 15 บาท ความพิเศษของการนั่บีอาร์ทีคือ มีเลนพิเศษของตัวเองในบางช่วงของถนนพระราม 3 และตลอดช่วงถนนนราธิวาสฯ
และที่ช่วงแรกๆ หวาดเสียวกันมากคือ ชายชลาสถานีอยู่กลางถนน

ความถี่ของการวิ่งรถ ช่วงเช้าเย็นรถมาบ่อยทุก 5-10 นาที แต่หากช่วงผู้โดยสารน้อย เช่นกลางวัน หรือดึกๆ ก็รอนาน 15-20 นาที

ข้อดีของการนั่งบีอาร์ทีนี้คือ สะดวก เชื่อมรถไฟฟ้าบีทีเอส ที่สถานีราชพฤกษ์ ก็เชื่อมสถานีตลาดพลู ฝั่งธนบุรี สามารถคุมเวลาได้ รอแบบมั่นใจได้ว่า ไม่เกิน 20 นาทีรถก็มา ใช้เวลาตลอดสายประมาณ 30 นาที ถ้ารถไม่ติด

แต่ก็มีเสียงบ่นบ้างที่บางเวลาชั่วโมงเร่งด่วน หรือฝนตกรถติด ขาดระยะ คนก็แน่น และการกันเลนพิเศษ ก็อาจกระทบกับรถยนต์ที่วิ่งบนถนนเดียวกัน อย่างนี้เป็นต้น


***การอ่านวันเดือนปีแบบไทย

 

เลขไทยหน้า หมายถึง

วันจันทร์

วันอังคาร

วันพุธ

วันพฤหัส

วันศุกร์

วันเสาร์

วันอาทิตย์

ตัวเลขด้านบนของ เครื่องหมาย บอกช่วงเวลา ข้างขึ้น ตั้งแต่ขึ้น ๑ ค่ำ ไปจนถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ

  • ข้างขึ้น หมายถึง พระจันทร์ดวงใหญ่ขึ้น จากขึ้น ๑ ค่ำ ขึ้น ๒ ค่ำ พระจันทร์เริ่มโตขึ้นๆ จนถึง ขึ้น ๑๕ ค่ำ เป็นวันพระจันทร์ เต็มดวง เรียกว่า คืนเดือนหงาย

ตัวเลขด้านล่างของ เครื่องหมาย บอกช่วงเวลา ข้างแรม ตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ ไปจนถึงแรม ๑๕ ค่ำ

  • ข้างแรม หมายถึง พระจันทร์ดวงเรื่มมืดลง จากแรม ๑ ค่ำ  แรม ๒ ค่ำ  พระจันทร์ค่อยๆดวงเล็กลง จนถึงแรม ๑๕ ค่ำ   คือวันที่พระจันทร์มืดสนิท เรียกว่า คืนเดือนมืด

เลขไทยหลัง หมายถึง เดือนทั้ง 12 เดือน แบบไทย

เดือนอ้าย-๑ ธันวาคม
เดือนยี่-๒ มกราคม
เดือนสาม-๓ กมภาพันธ์
เดือนสี่-๔ มีนาคม
เดือนห้า-๕ เมษายน
เดือนหก-๖ พฤษภาคม
เดือนเจ็ด-๗ มิถุนายน
เดือนแปด-๘ กรกฎาคม
เดือนเก้า-๙ สิงหาคม
เดือนสิบ-๑๐ กันยายน
เดือนสิบเอ็ด-๑๑ ตุลาคม
เดือนสิบสอง-๑๒ พฤศจิกายน