วันที่ 14 มิถุนายนของทุกปี องค์กรต่างๆทั่วโลกจะเฉลิมฉลองวันผู้บริจาคโลหิตโลก เพื่อสร้างความตระหนักรู้ถึงความสำคัญของการบริจาคเลือดที่มีความหมายต่ออุตสาหกรรมด้านสุขภาพ ตั้งแต่การรักษาด้วยพลาสมา ไปจนถึงการวิจัยและการใช้ในกรณีฉุกเฉิน การบริจาคเลือดเป็นรากฐานที่สำคัญที่ได้ช่วยเหลือโลกมาหลายครั้ง
ประวัติความเป็นมาของวันผู้บริจาคโลหิตโลก
ย้อนกลับไปไกลด้วยการถ่ายเลือดครั้งแรก โดยใช้วิทยาศาสตร์ที่ยังไม่ค่อยเข้าที่ในการวิจัยในช่วงแรกๆ แต่จนกระทั่ง Richard Lower เป็นคนแรกที่ศึกษาศาสตร์แห่งการบริจาคโลหิตด้วยสัตว์ ซึ่งเขาสามารถถ่ายเลือดระหว่างสุนัขสองตัวได้สำเร็จโดยไม่มีผลร้ายใดๆ และวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อเรื่องเลือดก็ค่อยๆ พัฒนาขึ้นจากจุดนั้น ไปตั้งแต่ความก้าวหน้าในเทคโนโลยีการถ่ายเลือดไปจนถึง Karl Landsteiner การค้นพบระบบกรุ๊ปเลือดมนุษย์ ABO เพื่อระบุกรุ๊ปเลือดของผู้บริจาค การถ่ายเลือดจึงกลายมาเป็นหัวข้อหลักในหัวข้อด้านสุขภาพและการแพทย์อย่างรวดเร็ว
ต่อจากความสำเร็จของวันอนามัยโลกในปี พ.ศ. 2543 ซึ่งมุ่งเน้นไปที่การบริจาคโลหิต และความปลอดภัยของการถ่ายเลือด รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขจากทั่วทุกมุมโลกได้ประกาศเป็นเอกฉันท์ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2548 ระหว่างการประชุมสมัชชาอนามัยโลกครั้งที่ 58 เพื่อกำหนดให้ วันผู้บริจาคโลหิตโลกเป็นงานประจำปีที่จัดขึ้นในวันที่ 14 มิถุนายนของทุกปี โดยเลือกวันเกิดของ Landsteiner เพื่อรำลึกถึง
วันผู้บริจาคโลหิตโลกมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับความจำเป็นในการบริจาคโลหิตอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการรักษาอุตสาหกรรมด้านสุขภาพให้มั่นคง และเพื่อเฉลิมฉลองการทำงานหนักของผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ที่ทำงานในการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆเพื่อใช้ในการบริจาคเลือด อีกทั้งวันนี้ยังใช้เพื่อขอบคุณผู้บริจาคสำหรับการบริการ และความมุ่งมั่นในการช่วยชีวิตผู้คนและทำให้โลกเป็นสถานที่ที่ดีขึ้น และยังถือเป็นการขอบคุณสำหรับทุกคนที่บริจาคโลหิตเพื่อช่วยชีวิตเป็นประจำ
ที่มา: https://nationaltoday.com/world-blood-donor-day/