เตรียมพร้อมรับมือเมื่อเกิดวิกฤตภัยแล้ง

Be prepared to deal with a drought crisis.

ภัยแล้ง (Droughts) คือ ภัยธรรมชาติที่เกิดจากฝนตกน้อยหรือไม่ตกตามฤดูกาล เป็นระยะเวลานานหลายเดือนหรือหลายปี ทำให้สภาพดินฟ้าอากาศเกิดความแห้งแล้งและขาดแคลนน้ำ จนส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิต การอุปโภค การบริโภค เศรษฐกิจสังคม และสิ่งแวดล้อมช่วงเวลาการเกิดภัยแล้งในประเทศไทย

ภัยแล้งในประเทศไทยส่วนใหญ่จะเกิดใน 2 ช่วง ได้แก่

1)ช่วงฤดูหนาวต่อเนื่องถึงฤดูร้อน โดยเริ่มจากครึ่งหลังของเดือนตุลาคมเป็นต้นไป บริเวณประเทศไทยตอนบน 

  • ภาคเหนือ 
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 
  • ภาคกลางและภาคตะวันออก

โดยจะมีปริมาณฝนลดลงเป็นลำดับ จนกระทั่งเข้าสู่ฤดูฝนในช่วงกลางเดือนพฤษภาคมของ ปีถัดไป ซึ่งภัยแล้งลักษณะนี้จะเกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี

2)ช่วงกลางฤดูฝน ประมาณปลายเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม

จะมีฝนทิ้งช่วงเกิดขึ้น ภัยแล้งลักษณะนี้จะเกิดขึ้นเฉพาะท้องถิ่นหรือบางบริเวณ บางครั้งอาจครอบคลุมพื้นที่เป็นบริเวณกว้างเกือบทั่วประเทศ

ผลกระทบจากภัยแล้ง

  1. เกิดภาวะขาดแคลนน้ำในการอุปโภค-บริโภค
  2. ผลิตผลทางการเกษตรลดลง ไม่เพียงพอต่อการบริโภคและการเลี้ยงปศุสัตว์
  3. เพิ่มโอกาสการเกิดไฟป่าได้ง่ายขึ้น ส่งผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สิน
  4. สัตว์ล้มตายจากการขาดอาหาร น้ำ และไร้ที่อยู่อาศัย
  5. เมื่อมวลอากาศร้อนปะทะกับมวลอากาศเย็นที่พัดมา เกิดอากาศแปรปรวนรุนแรงขึ้น ก่อให้เกิดพายุฤดูร้อน และภัยพิบัติอื่นๆตามมา

วิธีการแก้ปัญหาภัยแล้ง

การแก้ปัญหาภัยแล้วทำควรได้รับความร่วมมือจากทุกภาคฝ่าย

  1. แก้ปัญหาเฉพาะหน้า เช่น แจกน้ำให้ประชาชน ขุดเจาะน้ำบาดาล สร้างศูนย์จ่ายน้ำ จัดทำฝนเทียม
  2. การแก้ปัญหาระยะยาว อันได้แก่ การพัฒนาลุ่มน้ำ การสร้างฝาย การสร้างเขื่อน ขุดลอกแหล่งน้ำ การให้ความร่วมมือและมีส่วนร่วมมือในการจัดทำและพัฒนาชลประทาน การรักษาป่าและปลูกป่า เช่น การปลูกป่า 3 อย่าง ได้ประโยชน์ 4 อย่าง ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นต้น

เมื่อเกิดภัยแล้งจะรับมืออย่างไร

  1. วางแผนการใช้น้ำอย่างประหยัด ใช้เท่าที่จำเป็น และปิดน้ำทุกครั้งที่ไม่ใช้
  2. หาบรรจุภัณฑ์ที่สะอาด และมีฝาปิดมิดชิด สำหรับสำรองน้ำสะอาดไว้ใช้ให้เพียงพอ
  3. หมั่นตรวจสอบท่อน้ำ รีบซ่อมแซมทันทีเมื่อเกิดการรั่วซึม
  4. รดน้ำต้นไม้ในช่วงเช้าและเย็นที่อากาศไม่ร้อนจัด จะช่วยลดอัตราการระเหยของน้ำ
  5. กำจัดวัสดุหรือสิ่งที่เป็นเชื้อเพลิงรอบๆบ้าน เพื่อป้องกันการลุกลามของไฟป่า (กรณี ผู้ที่อยู่ใกล้พื้นที่ป่า)
  6. เตรียมหมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉิน “สายด่วน กปภ. 1662” สำหรับขอน้ำเพื่อบริโภค และ “สายด่วนพิทักษ์ป่า 1362” เพื่อขอความช่วยเหลือในการดับไฟป่า
  7. เมื่อเกิดภัยพิบัติให้ติดตามข่าวสารอยู่เสมอ

ที่มา : กรมอุตุนิยมวิทยา https://www.tmd.go.th/info/info.php?FileID=71

ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ http://ndwc.disaster.go.th/