24 ต.ค. 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน จัดการประชุมฟังความคิดเห็นเพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับกองทุนประกันสังคม SSO SUSTAINABLE FOR ALL
กล่าวว่า กองทุนประกันสังคมสร้างหลักประกันทางสังคมให้แรงงาน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533 จนถึงปัจจุบัน เป็นระยะเวลากว่า 34 ปี
ปัจจุบันกองทุนมีเงินสะสม จำนวน 2.6 ล้านล้านบาท ให้ความคุ้มครองผู้ประกันตนมาตรา 33 มาตรา 39 และมาตรา 40 จำนวนกว่า 24 ล้านคน ซึ่งประเทศไทยเข้าสู่ยุคสังคมผู้สูงวัย แรงงานที่จะเข้าสู่ระบบการทำงานจะลดน้อยลง
โดยจากการคำนวณทางคณิตศาสตร์ คาดว่าอีก 30 ปีข้างหน้า กองทุนประกันสังคมจะเหลือเท่ากับศูนย์ นั่นคือ การล่มสลายของกองทุนประกันสังคม เราจะทำอย่างไร ให้กองทุนอยู่ได้นานที่สุด หรือ เป็นอินฟินิตี้ เพราะฉะนั้นเราจึงต้องหาวิธีที่หลากหลาย เพื่อเตรียมป้องกัน ก่อนที่ปัญหาจะเกิด
นายพิพัฒน์ กล่าวต่อว่า การประชุมในวันนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อนำองค์ความรู้และแนวคิด จากการระดมสมองจากผู้เชี่ยวชาญ ทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศ นักวิชาการ ตัวแทนพรรคการเมือง เพื่อนำมาทำแผนในการการพัฒนาสิทธิประโยชน์ การบริการทางการแพทย์ และการลงทุน ของกองทุน ประกันสังคมโดยมีแนวทาง 4 หัวข้อ ได้แก่
ในการประชุมครั้งนี้ ได้มีข้อเสนอจากผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการ นายจ้าง ผู้ประกันตน ผู้แทนพรรคการเมือง และ ทุกภาคส่วนร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ โดยมีผลสรุปประเด็น ทั้ง 4 ห้อง ดังนี้
1 : สิทธิประโยชน์ด้านขยายความครอบคลุมหลักประกันสังคมด้วยสิทธิประโยชน์ที่เพียงพอ
1.1 ออกแบบระบบประกันสังคมให้ครอบคลุมกับรูปแบบการทำงานที่เปลี่ยนไป และสังคมสูงวัย
1.2 การสร้างหลักประกันให้กับผู้ประกอบอาชีพอิสระ ม.40 หรือ ม.40 PLUS
1.3 การปรับเพดานเงินสมทบ ให้ได้รับสิทธิประโยชน์ที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะเงินบำนาญ การบริการทางการแพทย์
1.4 สิทธิรักษาแบบประคับประคอง (PALLIATIVE CARE) คือ การเยียวยากลุ่ม ลูกจ้างที่เจ็บป่วยร้ายแรงจนไม่สามารถทำงานได้หรือมีโอกาสเสียชีวิตสูง ช่วยครอบครัวให้สามารถดำเนินชีวิตต่อไปได้
2 : ทางการแพทย์ อนาคตของระบบประกันสุขภาพ โดย ส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคให้ผู้ประกันตนเป็นสำคัญ และนำเทคโนโลยี มาใช้ในการจัดการข้อมูลสุขภาพของผู้ประกันตน ให้เกิดการเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพ รวมทั้งสร้างระบบ การพยากรณ์ด้านสุขภาพรายบุคคล เพื่อกระตุ้นให้เกิดการป้องกันก่อนเป็นโรคร้ายแรง
3 : แนวทางการบริหารเงินลงทุนสร้างในการสร้างเสถียรภาพโดยคำนึงความเสี่ยงที่สำคัญ เพื่อตัดสินใจด้านกลยุทธ์การลงทุนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ความเสี่ยงที่เปลี่ยนแปลงไป
4 : คณิตศาสตร์ประกันภัย ในความยั่งยืนของกองทุนประกันสังคม ต้องเริ่มต้นจากสิทธิประโยชน์ที่เพียงพอ สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและค่าครองชีพที่เปลี่ยนแปลงไป สามารถดำเนินการได้โดย
4.1 ปฏิรูปสิทธิประโยชน์ที่เพียงพอต่อการดำรงชีพหลังเกษียณ
4.2 การปรับเพดานค่าจ้างเพื่อสร้างสิทธิประโยชน์เพียงพอระหว่าง การทำก่อนเกษียณ
4.3. การลดต้นทุน (รายจ่าย) โดยขยายอายุเกษียณอย่างค่อยเป็นค่อยไป รวมถึงการเก็บเงินสมทบเพิ่ม (ขยายอัตรา) “ผมในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เราทำวันนี้ เพื่ออนาคต และ เตรียมความพร้อมล่วงหน้า
ที่มา สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน
www.sso.go.th